Last updated: 16 ส.ค. 2565 | 1365 จำนวนผู้เข้าชม |
ศูนย์กลางการเรียนรู้ การศึกษา การใช้ประโยชน์เชิงลึกสำหรับนักวิชาการทั่วโลกและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเห็ดซางฮวงธรรมชาติ
: ปี พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งแรกของเอเชีย โดยความร่วมมือจาก อเมซิ่ง เกรช (ศูนย์วิจัยเห็ดฟิลินัสธรรมชาติ ไทย-เกาหลี) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
: วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพิพิธภัณฑ์เห็ดซางฮวงธรรมชาติ ไทย – เกาหลี เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การจัดแสดงเห็ดซางฮวงธรรมชาติ รวมไปถึงมีการศึกษาวิจัยสารสำคัญในเห็ดชนิดต่างๆ
แต่ผลจากการรุกรานป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของเห็ดซางฮวงธรรมชาติได้ถูกทำลายลงทุกๆ ปี ทำให้ในปัจจุบันจำนวนเห็ดชนิดนี้มีเหลืออยู่น้อยมาก ส่งผลให้ประชาชนและคนทั่วไปไม่สามารถใช้ยาที่สกัดจากเห็ดซางฮวงธรรมชาติได้
ทาง อเมซิ่ง เกรซ ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ และตระหนักว่าหากไม่ทำการสะสมเห็ดในกลุ่มเห็ดซางฮวงธรรมชาติเอาไว้ เห็ดชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปได้ จึงได้ทำการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เห็ดซางฮวงธรรมชาติ ไทย-เกาหลี ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการรวบรวมสายพันธุ์ของเห็ดในกลุ่มนี้ เพื่อจัดแสดงให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เพื่อให้สาธารณชนได้เห็นความสำคัญของเห็ดซางฮวงธรรมชาตินี้
ศึกษาข้อมูลพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ที่ :
Thai Korea Research Center
ศึกษาข้อมูลพิพิธภัณฑ์เห็ดซางฮวงธรรมชาติ ไทย-เกาหลี ได้ที่ :
Thai-Korea Natural Phellinus Mushroom Museum
20 พ.ย. 2566
16 พ.ย. 2566
6 ธ.ค. 2566