WHO ระบุว่า มนุษย์เพียง 20% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงยาแผนตะวันตก

“สิ่งนี้เลยเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นว่า เราจะต้องเรียนรู้การเป็นอยู่ทางธรรมชาติของเรา”

เราจะต้องใช้สมุนไพรอะไร หรือเราจะต้องใช้อย่างไรจึงจะถูกจุด สมุนไพรทั่วโลกมีเยอะแยะมากกว่า 2,000 - 3,000 ชนิด การจะเลือกรับปรับใช้ยังไง มันก็ขึ้นอยู่ว่าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมไหน เราอยู่ในสถานการณ์ไหน

ตัวอย่างจากการใช้ภูมิปัญญา ในการดูแลรักษาสุขภาพของคนเรามายาวนานกว่า 2,000 ปี จะเห็นได้ว่าเห็ดซางฮวงธรรมชาติ เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีการบรรจุเอาไว้ในตำรายาแพทย์ไม่ว่าจะเป็นของจีนโบราณ ของเกาหลี หรือแม้กระทั้งญี่ปุ่น ในปัจจุบันก็ได้มีการยอมรับในเรื่องการใช้เห็ดซางฮวงธรรมชาติ ในการรักษามะเร็ง ประเทศญี่ปุ่นได้มีการประกาศให้เห็ดซางฮวงธรรมชาติเป็นยารักษามะเร็งมาตั้งแต่ปี 1968

            ในอดีตประเทศจีนเป็นเจ้าของภูมิปัญญานี้เป็นหลัก แต่มีการสร้างพระราชวังใหญ่โตมโหฬาร โดยใช้ไม้ทั้งหมดจากป่า ป่าในประเทศจีนจึงสูญหายไป มีบันทึกไว้ว่าประเทศจีนมีป่าไม้เหลือไม่ถึง 10% เพราะฉะนั้นเห็ดซางฮวงธรรมชาติที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ใหญ่ๆ และภูมิปัญญาตรงนี้จึงขาดหายไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

แต่ ณ ปัจจุบันนี้ได้เริ่มตระหนักแล้วว่าเห็ดซางฮวงธรรมชาติน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีตัวหนึ่ง ก็เลยได้เริ่มมีการฟื้นฟูความรู้ แล้วก็ได้มีการเพาะเลี้ยง ในเฉพาะของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศเกาหลี และมีการพบว่าเห็ดซางฮวงธรรมชาติ มาปรากฎในทางเอเชียเขตร้อนค่อนข้างเยอะ เนื่องจากประเทศแถบเอเชียเขตร้อนยังมีป่าไม้จำนวนมาก ซึ่งป่าพวกนี้เป็นที่อยู่ที่สำคัญของเห็ดซางฮวงธรรมชาติ เราจึงยังพบประชากรของเห็ดซางฮวงธรรมชาติในป่าเขตร้อนแถบนี้ และมีการฟื้นฟูพร้อมการนำเอาศาสตร์ของจีน เกาหลี ญี่ปุ่น มาใช้ในการผลิตยาจากเห็ดซางฮวงธรรมชาติ



หลายท่านก็สงสัยว่าแล้วถ้าเป็นเห็ดซางฮวงธรรมชาติสามารถนำมาใช้กับคนไทยได้หรอ?

ไทยมีภูมิปัญญาอันนี้หรอ?

ปรากฎว่าเท่าที่เราสืบค้นแล้วพบว่าในตำราคัมภีร์แผนโบราณของไทย โดยเฉพาะการบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน เราพบว่ามีการใช้เห็ดซางฮวงธรรมชาติแต่เรียกเป็นภาษาไทยว่า “เห็ดกระถินพิมาน” ไม่น้อยกว่า 100 ตำรับ โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษามะเร็ง มีบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่ามีการนำเอาเห็ดซางฮวงธรรมชาติมาใช้ในการรักษามะเร็ง เพราะฉะนั้นเห็ดซางฮวงธรรมชาติจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ด้านที่เราจะใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรคหรือดูแลสุขภาพร่างกายของเรา

โดย : ดร.อุษา กลิ่นหอม  (นายกสมาคมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสุขภาพวิถีไท , ที่ปรึกษานักวิชาการ หจก. อเมซิ่ง เกรซ เฮลท์ โปรดักท์)

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้