การผสมผสานศาสตร์การแพทย์ เพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีขึ้น

Last updated: 22 ส.ค. 2565  |  1014 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การผสมผสานศาสตร์การแพทย์ เพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีขึ้น

โดย : ดร.อุษา กลิ่นหอม
(นายกสมาคมเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านและสุขภาพวิถีไท ,
ที่ปรึกษานักวิชาการ หจก. อเมซิ่ง เกรซ เฮลท์ โปรดักท์)

 

ที่มาของศาสตร์แพทย์ตะวันออก :  

    “โดยปกติแล้วศาสตร์ตามการแพทย์แผนตะวันออกเป็นศาสตร์พื้นฐานที่มาพร้อมกับชีวิตของมนุษย์ที่ต้องการดูแลสุขภาพของตนเองก็จะใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวเอง มาช่วยเยียวยาในการดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพแบบปกติ หรือการดูแลสุขภาพเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ศาสตร์เหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นตามสภาพแวดล้อมของชุมชนทั่วๆไป”

ที่มาของศาสตร์แพทย์ตะวันตก :  

    “ต่อมาการเยียวยารักษา ที่ต้องใช้สมุนไพร ใช้ยา ใช้กระบวนการ วิธีการ ที่หลากหลาย และวิวัฒนาการทางการแพทย์และทางวิทยาสตร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น การรักษาที่เป็นสาเหตุปัญหาของสุขภาพได้โดยตรงจึงเกิดกลายเป็นศาสตร์การแพทย์ตะวันตก”

ที่มาของศาสตร์แพทย์ทางเลือก :

    โควิด-19 เป็นปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่เป็นปัญหาระดับโลก แต่ทำให้รอยต่อระหว่างศาสตร์แพทย์ตะวันออก และศาสตร์แพทย์ตะวันตกเล็กลง พร้อมเกิดการผสมผสานกันมากขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าศาสตร์แพทย์ทางเลือกไม่ใช่นิยามของการรักษาแบบโบราณอีกต่อไป แต่เป็นการดึงเอาจุดเด่นของทั้งสองศาสตร์มารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้และยอมรับ การใช้สมุนไพรประจำถิ่น การรักษาในเรื่องของสภาวะจิตใจ ฯลฯ

    เพราะแต่เดิมศาสตร์ทางการแพทย์แผนตะวันออก จะคำนึงถึง “เรื่องจิตใจ” ก่อนรักษาผู้ป่วย เพื่อที่จะไปรักษาร่างกายในภายหลัง แต่ในขณะที่แพทย์แผนตะวันตกจะมีการเยียวยาทางด้านร่างกายก่อนจิตใจ

    ในปัจจุบันนี้ได้มีการยอมรับ ถึงการผสมผสานของศาสตร์ทางการแพทย์ที่นำมารวมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการดูแลสุขภาพ หรือในการเยียวยารักษาความเจ็บปวดของร่างกายได้ดีมากขึ้น

บทสรุปและความเป็นไปได้ในความก้าวหน้าทางการรักษา

    “จากการที่เรานำศาสตร์แพทย์แผนตะวันออกและแผนตะวันตกมารวมกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในปัจจุบัน เราก็พบว่ามันมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเนื่องจากว่าคนได้รับการเยียวยาทั้งจิตใจ และร่างกายไม่ได้ทำทางใด ทางหนึ่ง เพราะว่าในสมัยอดีตเราได้คิดว่าการเยียวยาทางจิตใจเป็นเรื่องไสยศาสตร์คนก็เลยละเลยไปชั่วระยะหนึ่ง แต่พอตอนหลังก็กลับมาคิดได้ว่าจะต้องใช้ศาสตร์ทั้ง 2 ประการเข้ามาร่วมกัน ทำให้นึกย้อนไปถึงพระไตรปิฎก คัมภีร์ของพระพุทธเจ้าที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ร่างกายของเราประกอบไปด้วยธาตุ 6 ประการ นอกจากดิน น้ำ ลม ไฟ ยังมีอากาศธาตุ ซึ่งหมายถึงช่องว่างต่างๆภายในร่างกายและวิญญาณธาตุ ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงไว้ เพราะฉะนั้นศาสตร์แพทย์แผนตะวันออกเมื่อเอามาใช้กับแผนตะวันตกในปัจจุบัน จึงทำให้การเยียวยามีผลมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยในโรงพยาบาลในปัจจุบันหลายราย โดยเฉพาะในแทบชานเมือง แพทย์แผนตะวันตกยอมรับศาสตร์แพทย์แผนตะวันออกมากขึ้น โดยยอมให้มีการเยียวยาในเรื่องจิตใจ เช่น การทำพิธีเหยา การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญต่างๆพวกนี้ ก็จะทำให้จิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นและส่งผลกับการรักษาทางด้านร่างกาย”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้